วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การปกครองสมัยกรุงสุโขทัย

การปกครองสมัยกรุงสุโขทัย
















ยุคสมัยกรุงสุโขทัย
ในปี พ.ศ.๑๗๙๒-พ.ศ.๑๙๘๑ ราชอาณาจักรไทยได้สถาปนาขึ้นเป็นกรุงสุโขทัย สมัยสุโขทัยเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือ พ่อขุนแห่งกรุงสุโขทัยทรงเป็นประมุขและทรงปกครองประชาชนในลักษณะ "พ่อปกครองลูก" คือถือพระองค์องค์เป็นพ่อที่ให้สิทธิและเสรีภาพ และใกล้ชิดกับราษฎร มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองป้องกันภัยและส่งเสริมความสุขให้ราษฎร ราษฎรในฐานะบุตรก็มีหน้าที่ให้ความเคารพเชื่อฟังพ่อขุน
การก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัยพ่อขุนผาเมือง กับ พ่อขุนบางกลางหาว ได้ร่วมกันขับไล่ขอมซึ่งมีอำนาจปกครองสุโขทัยอยู่ขณะนั้นออกไปได้สำเร็จ พ่อขุนบางกลางหาวขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ เมื่อพ.ศ.๑๗๙๑ มีพระนามว่า "พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ "
ในระยะแรกก่อตั้งกรุงสุโขทัยนั้นมีอาณาจักรไม่กว้างขวางและประชาชนยังมีจำนวนน้อย พระมหากษัตริย์จึงสามารถปกครองดูแลอย่างใกล้ชิด เหมือนพ่อปกครองลูก
เมื่อขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวางและมีประชาชนมากขึ้น จำเป็นต้องปรับปรุงการประครองใหม่ โดยพระเจ้าลิไทย ทรงนำหลักธรรมของพระพุทธศาสนามาเป็นแนวในการปกครอง คำว่า มหาธรรมราชา หมายถึง พระมหากษัตริย์ผู้ทรงธรรม พระองค์ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนาปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่างแก่ประชาชน ซึ่งเป็นแนวทางการปกครองที่พระมหากษัตริย์สุโขทัยสมัยหลังยึดถือเป็นแบบอย่างทุกพระองค์ความเจริญรุ่งเรืองสมัยสุโขทัย
อาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในสมัย พ่อขุนรามคำแหง เนื่องจากทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่กล้าหาญ สามรถรบชนะ พ่อขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ตั้งแต่มีพระชนม์เพียง๑๙ พรรษาเท่านั้น และในรัชสมัยของพระองค์ได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางมากกว่าสมัยใดๆ พระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ ดังนี้๑. ในรัชสมัยของพระองค์ อาณาจักรสุโขทัยผูกไมตรีเป็นมิตรกับแว่นแคว้นอื่นๆ คือทรงเป็นพระสหายกับ พ่อขุนเม็งราย แห่งอาณาจักรล้านนา และ พ่อขุนผาเมือง แห่งเมืองพระเยา
๒. พระองค์ทรงประดิษฐ์ทรงจัดส่งเครื่องบรรณาการไปประเทศจีน ทำให้มีการติดต่อค้าขายกันได้สะดวก
๓. พระองค์ทรงประดิษฐ์อักษรไทย หรือที่เรียกว่า ลายสือไทย เมื่อ พ.ศ.๑๘๒๖ ทำให้คนไทยมีอักษรประจำชาติ
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถ พระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจหลายด้านที่เป็นประโยชน์ และมีความสำคัญต่อชาติไทยเราจนทุกวันนี้
พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงดำเนินการปกครองประเทศด้วยพระองค์เอง โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เป็นผู้ช่วยเหลือในการปกครองต่างพระเนตร พระกรรณ และรับผิดชอบโดยตรงต่อพระองค์ อาณาจักรสุโขทัยได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ได้รวบรวมหัวเมืองน้อยเข้าไว้ในปกครองมากมาย ยากที่จะปกครองหัวเมืองต่างๆ ด้วยพระองค์เองได้อย่างทั่วถึง การเมืองการปกครองต่างๆ ในสมัยนั้นอาจจำแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ
๑.การปกครองส่วนกลาง ส่วนกลาง ได้แก่ เมืองหลวงและเมืองลูกหลวง เมืองหลวง คือสุโขทัยนั้นอยู่ในความปกครองของพระมหากษัตริย์โดยตรง เมืองลูกหลวง เป็นเมืองหน้าด่านที่อยู่รายล้อมเมืองหลวง ๔ ทิศ เมืองเหล่านี้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรสไปปกครองได้แก่(๑)ทิศเหนือ เมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก)(๒)ทิศตะวันออก เมืองสองแคว (พิษณุโลก)(๓) ทิศใต้ เมืองสระหลวง (พิจิตร)(๔) ทิศตะวันตก เมืองกำแพงเพชร (ชากังราว)
๒.การปกครองหัวเมือง หัวเมือง หมายถึงเมืองที่อยู่นอกอาณาเขตเมืองลูกหลวง มี ๒ ลักษณะ คือ(๑)หัวเมืองชั้นนอก เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลจากกรุงสุโขทัย หรืออยู่รอบนอกของเมืองหลวงบางเมือง มีเจ้าเมืองเดิม หรือเชื้อสายของเจ้าเมืองเดิมปกครองบางเมือง พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงแต่งตั้ง เชื้อพระวงศ์หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ไว้วางพระราชหฤทัยไปปกครอง บางครั้งเรียกหัวเมืองชั้นนอกว่า เมืองท้าวพระยา มหานคร(๒)หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองภายนอกพระราชอาณาจักร เมืองเหล่านี้มีกษัตริย์ของตนเองปกครอง แต่ยอมรับในอำนาจของกรุงสุโขทัย พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยเป็นเพียงเจ้าคุ้มครอง โดยหัวเมืองเหล่านี้จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย และส่งทหารมาช่วยรบเมื่อทางกรุงสุโขทัยมีคำสั่งไปร้องขอ
พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในรัชกาล พระมหาธรรมราชาที่ ๑ หรือ พระเจ้าลิไทย พระองค์ทรงผนวช และอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาหลายด้าน ที่สำคัญคือ การส่งพระสงฆ์ไปเผยแผ่พุทธศาสนาในดินแดนภาคเหนือ ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ ไตรภูมิพระร่วง ซึ่งเป็นคำสอนในพระพุทธศาสนา
เศรษฐกิจและสังคมในสมัยสุโขทัย
สุโขทัยเป็นสังคมเกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่ทำมาหากินด้านการเกษตร เช่นทำนา ทำไร่ ทำสวน สุโขทัยยังมีการจัดทำระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ทางการเกษตร โดยได้ขุดสระกักเก็บน้ำไว้ใช้และทำท่อดินเผาชักน้ำเข้ามาใช้ในตัวเมือง
นอกจากเกษตรกรรมแล้ว อาชีพสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการค้าขาย โดยมีทั้งการค้าในเมืองสุโขทัยเอง การค้ากับเมืองที่อยู่ใกล้เคียง เช่นมอญ และการค้ากับดินแดนห่างไกล เช่น จีน สินค้าที่ค้าขายมีหลายอย่าง เช่น ของป่า สัตว์ป่าต่าง ๆ และทางการยังสนับสนุนให้มีการค้าขายโดยไม่เก็บภาษีผ่านด่านแก่พ่อค้าที่จะเข้ามาค้าขายที่สุโขทัย ดังมีจารึกอยู่ในศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ ๑ หรือศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ว่า "เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่ เอาจกอบ ในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจังใคร่ค้าม้าค้า ใคร่จักค้าม้าค้า ..."
สุโขทัยมีการผลิตถ้วยชาม สังคโลก เพื่อใช้ภายในดินแดน และส่งไปขายยังเพื่อนบ้านใกล้เคียง มีเตาเผาสังคโลกมากมายในบริเวณเมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัย
เมื่ออาณาจักรอยุธยาซึ่งเป็นอาณาจักรของคนไทยอีกแห่งหนึ่งเข้มแข็งขึ้นมา ได้รวมเอาสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร ใน พ.ศ.๒๐๐๖ แต่ความเจริญทางวัฒนธรรมที่สำคัญ เช่น อักษรไทย พระพุทธศาสนา ศิลปกรรมของสุโขทัยได้สืบทอดมาถึงสมัยอยุธยาและสมัยปัจจุบันนี้ ที่สำคัญคือ ภาษาไทย ศิลปกรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี ต่าง ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น